วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ปทรูปสิทธิสังเขป๒๐๕

#ปทรูปสิทธิสังเขป๒๐๕
นามศัพท์ : ระบบการสร้างรูปคำนาม ในมโนคณาทิคณศัพท์

วันนี้ใคร่ขอออกนอกคัมภีร์ปทรูปสิทธิสักครั้ง ไปฟังมติของคัมภีร์สัททนีติสักหน่อยหนึ่ง
คัมภีร์ปทรูปสิทธิ แสดงเฉพาะวิธีการของมโนคณ เท่านั้นไว้ให้เป็นพื้นฐานของการสังเกตกลุ่มศัพท์นี้ ดังนั้น ท่านจึงไม่ได้แสดงถึงศัพท์ในมโนคณาทิคณะไว้. อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงมโนคณะและมโนคณาทิคณะแล้ว ยังมีกลุ่มศัพท์อื่นๆ ที่คล้ายคลึงกับมโนคณะนั้นอีก. คัมภีร์สัททนีติ ปทมาลา เรียกกลุ่มศัพท์เหล่านั้นว่า “อมโนคณ”.  ในคราวนี้จะนำอมโนคณศัพท์มาแสดงไว้ เพื่อเพิ่มพูนความเป็นผู้รอบรู้ให้แก่นักศึกษาโดยสรุป.  ท่านที่สนใจรายละเอียดให้ไปค้นคว้าเพิ่มเติมได้ในคัมภีร์สัททนีติ ปทมาลา.

อมโนคณะ
          สัททนีติยังแสดงศัพท์ที่นอกเหนือไปจากมโนคณาทิคณะอีกคณะหนึ่ง คือ อมโนคณะ คือ กลุ่มศัพท์ที่ไม่ใช่มโนคณะ ซึ่งมีอยู่ ๒ กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
          ๑. อมโนคณะ ที่มีลักษณะพิเศษในการแปลงบางวิภัตติเช่นกัน แต่ไม่เหมือนกับมโนคณะศัพท์ กลุ่มนี้มีอยู่ ๒ ประเภท คือ
                    ๑). กลุ่มศัพท์ อ การันต์ที่มีการแจกตติยาวิภัตติ โดยเอา นา วิภัตติเป็น โส ได้ เช่นอตฺถ อรรถ, พฺยญฺชน พยัญชนะ,  อกฺขร อักษร, สุตฺต สูตร, อุปาย ช่อง, สพฺพ ทั้งหมด, ฐาน ฐานะ เป็น อตฺถโส, พฺยญฺชนโส, อกฺขรโส, สุตฺตโส, อุปายโส, สพฺพโส, ฐานโส เป็นต้น.
                    ๒). กลุ่มศัพท์ อ การันต์ ที่มีการแจกปัญจมีวิภัตติ โดยเอา สฺมา วิภัตติเป็น โส ได้ เช่น ทีฆ ยาว, โอร ฝั่งนี้ เป็น ทีฆโส จากด้านยาว, โอรโส จากฝั่งนี้ เป็นต้น.
          ทั้งนี้ในกัจจายนะและสัททนีติก็แสดงสูตรที่เกี่ยวกับการแปลงนา ตติยาวิภัตติ[1]และ สฺมา ปญฺจมี วิภัตติ เป็น โส [2] ไว้ แต่ในที่นี้จะไม่นำสูตรเหล่านั้นมาแสดงไว้ เพราะจะเป็นการเยิ่นเย้อไปโดยใช่เหตุ แต่ที่กล่าวถึงในที่นี้เพราะเห็นว่า มีลักษณะคล้ายคลึงกับมโนคณะศัพท์ จึงนำมาแสดงไว้พอเป็นแนวทางในการค้นคว้าของนักศึกษาสืบไป.
          ๒. อมโนคณะ ที่ไม่มีลักษณะของมโนคณะเลย  ได้แก่ กลุ่มศัพท์ที่ไม่มีลักษณะของมโนคณะเลยสักข้อ.  ได้แก่ ปุริสาทิคณะ ราชาทิคณะ คุณวนฺตาทิคณะเป็นต้นนั่นเอง. สำหรับรายละเอียดของกลุ่มศัพท์นี้ ก็จะได้ศึกษากันต่อจากนี้ไป.
จบ มโนคณาทิคณะ.
ขอนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช



[1] กัจจายนสูตรที่ 105 ว่า โส วา และในสัททนีติ สุตตมาลา สุตรที่273 ว่า โส วา ฐาเน หลัง อ การันต์ เอา นา ตติยาวิภัตติเป็น โส ได้บ้าง.
[2] กัจจายสูตรที่ 106 ว่า ทีโฆเรหิ และ ในสัททนีติ สุตตมาลา สูตรที่ 274 ว่า ทีโฆรโต สฺมาสฺส หลังศัพท์ ทีฆ โอร เอา สฺมา ปัญจมีวิภัตติ เป็น โส ได้บ้าง. ซึ่งในทั้ง ๒ สูตรนี้ ท่านแสดงไว้ว่า เป็นได้ ๒ ลิงค์ คือ ปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์. ซึ่งมีปทมาลาที่เหมือนกับ อ การันต์ ปุงลิงค์หรือ นปุงสกลิงค์ จะมีที่ต่างกันเฉพาะ ๒ วิภัตตินี้เท่านั้น.

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ปทรูปสิทธิสังเขป ๒๐๔ มโนคณาทิคณะ

#ปทรูปสิทธิสังเขป๒๐๔
นามศัพท์ : ระบบการสร้างรูปคำนาม ในมโนคณาทิคณศัพท์
----
ได้กล่าวถึง มโนคณะ ไปแล้ว โดยเน้นที่ลักษณะ ๒ ประการใน ๓ วิภัตติ และอีก ๑ ประการ ในเวลาที่เป็นบทสมาสและตัทธิต. ถึงคราวนี้ เมื่อนำลักษณะ ๓ ประการไปใช้กับศัพท์อื่น มโนคณะ จึงกลายเป็นกลุ่มศัพท์ที่มีลักษณะเหมือนกับศัพท์อื่น โดยลักษณะ ๓ ประการนั้น. อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มศัพท์อื่นที่ีเหมือนกับมโนคณะ ก็ใช่ว่าจะมีลักษณะครบ คือ บางกลุ่มมีเป็นบางข้อ ไม่มีเป็นบางข้อ.

แนวทางสังเกตมีดังนี้.
ท่านทั้งหลาย หากสังเกตข้อความในตัวสูตร จะพบว่า สูตรว่า มโนคณาทิโต สฺมิํนานมิอา แปลง สฺมึ และ นา ท้ายศัพท์มโนคณะศัพท์เป็นต้น เป็น อิ และ อา ได้บ้าง  ท่านได้กล่าวถึง มโนคณาทิคณะไว้ ด้วยคำว่า มโนคณาทิโต. ด้วยคำนี้แหละ เป็นอันแสดงศัพท์ดังจะกล่าวต่อไปนี้ว่าเป็น มโนคณาทิคณะ
มโนคณาทิคณะ มาจาก มโนคณ + อาทิ + คณะ แปลว่า กลุ่มศัพท์ที่มีมโนคณะเป็นเบื้องต้น หรืออีกนัยหนึ่ง กลุ่มศัพท์ที่มีลักษณะเหมือนกับมโนคณะ. หมายความว่า นอกจากจะมีมโนคณะ ๑๖ ศัพท์ดังกล่าวมาแล้ว ยังมีศัพท์ทีเหลืออีก ๑๒ ศัพท์ที่คล้ายกับมโนคณะโดยลักษณะบางประการ. คือ 
พิล  ช่อง, พล  กำลัง, ทม การฝึก, วาห เกวียน,  ชรา ความแก่, ปท บท, มุข  หน้า หรือปาก, ชร โรค, อาป น้ำ, สรท  ปี, ฤดูอับลม, วาย ลม, รช ธุลี.
 ต่อจากนี้จะเรียก ๑๒ ศัพท์นี้ ว่า “มโนคณาทิคณะ 


วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๒๐๓ ลักษณะที่ ๓ :แปลง อ ท้าย มน เป็น โอ เมื่ออยู่ท่ามกลางสมาสและตัทธิต

#ปทรูปสิทธิสังเขป๒๐๓
นามศัพท์ : ระบบการสร้างรูปคำนาม ในมโนคณศัพท์

ได้กล่าวถึงลักษณะของมโนคณะไปถึง ๒ ประการแล้ว โดยอาศัยสูตรที่ท่านแสดงกำกับไว้ กล่าวคือ มีการแปลง นา เป็น อา ส เป็น โอ และ สฺมิํ เป็น อิ และมีการลง สอาคม ทั้งสามวิภัตติ อาจกล่าวได้ว่า แปลง นา เป็น สา, ส เป็น โส และ สฺมิํ เป็น สิ เพื่อกำหนดได้ง่าย แต่ถ้ายึดหลักการที่ถูกต้อง ก็ต้องคำนึงกฏเกณฑ์ตามลำดับที่แสดงไว้
ในลักษณะที่ ๓ คือ การแปลง อ ของ มน เป็น โอ เมื่ออยู่ท่ามกลางสมาสและตัทธิต  ไม่ปรากฏวิธีการในนามกัณฑ์ แต่มีในพยัญชนสนธิ ซึ่งได้เคยแสดงไปแล้ว ท่านทั้งหลายอาจไม่ทันได้กำหนด ใคร่จะทบทวนอีกสักที
อ้างถึง #ปทรูปสิทธิสังเขป๗๙

๕) วิธีการเชื่อมสระในเพราะพยัญชนะ แบบ “อาคม”
แปลงสระท้ายศัพท์มี มน เป็นต้น เป็น โอ ในกรณีที่ มน เป็นสมาส กับ ศัพท์หลัง เป็นต้น

กรณีนี้เป็นพิเศษ เพราะเกี่ยวกับโอเหมือนกัน อาศัยการดำเนินเรื่องติดต่อกัน จึงจัดวิธีการนี้แม้เป็นวิธีการของนามศัพท์สมาสและตัทธิต (วิธีการที่เกี่ยวกับคำนาม คือ จัดลิงค์ และ ลงวิภัตติเป็นต้นและ สมาส คือ การนำคำนามสองคำขึ้นมาย่อเข้าด้วยกันได้ความหมายใหม่ขึ้นมา ตัทธิต การใช้กลุ่มอักษรที่เรียกว่า ปัจจัย ใช้แทนความหมายของคำนาม)

หลักการ : สูตรกำกับวิธีการ
๔๘. เอเตสโม โลเป.
 เมื่อลบวิภัตติแล้ว แปลงสระที่สุดแห่งศัพท์มโนคณะเป็นต้นเหล่านั้น เป็น โอ ได้บ้าง.

หลักเกณฑ์ : ขอบเขตของสูตรและอธิบาย 
เมื่อลบวิภัตติของมโนคณะศัพท์เป็นต้นแล้ว ให้แปลง สระที่สุดของศัพท์เหล่านั้น เป็นโอ.

คำว่า วิภัตติที่ลบออกแล้ว คือ วิภัตติที่ลบออกจากศัพท์หน้า คือ มโนคณะศัพท์ที่ตั้งเป็นสมาส หรือตัทธิตนั่นเอง.
ความเป็นจริงแล้ว วิธีอย่างนี้เป็นวิธีของสมาสและตัทธิตทีมีการลบวิภัตติ แต่ที่จัดไว้ในที่นี้เพราะมีสภาพเหมือนกับพยัญชนะสนธิ ในแง่ที่ว่า มีการอาเทศ สระเป็นโอ และมีพยัญชนะเป็นนิมิตนั่นเอง.

 หลักการใช้ :  อุทาหรณ์ของสูตร
๑) มน ใจ + มยํ ทำแล้ว = มโนมยํ ทำแล้วด้วยใจ (หรือจะมองว่า มโนมยํ มาจาก มน + มยํ)

ในตัวอย่างนี้ มโนมยํ แปลว่า ทำแล้วด้วยใจ.  ในที่นี้ คำว่า มย จัดเป็น ปัจจัยในตัทธิตใช้แทนคำศัพท์ว่า ปกต ที่แปลว่า ทำแล้ว, สำเร็จแล้ว.  เมื่อนำคำว่า มย มาประกอบกับ คำว่า มน ที่เป็นบทนาม (ซึ่งบทนามนี้ จะต้องประกอบด้วยวิภัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ในวิภัตติทั้ง ๗ เพื่อกำหนดหน้าที่ของคำนามในประโยค ความโดยพิสดารจักมาในนามกัณฑ์ ตอนนี้รับทราบแค่นี้ก่อนครับ). สำหรับตัวอย่างนี้ มน ประกอบด้วย นา ตติยาวิภัตติ ให้แปลว่า "ด้วย"  สำเร็จรูปคำตามกระบวนสร้างรูปคำของคำนามตามลำดับเป็น
"มนสามยํ"

มโนมยํ = มนสา ด้วยใจ + มยํ (= ปกตํ) ทำแล้ว = ทำแล้วด้วยใจ
ลบนา (แปลงเป็น สา) วิภัตติ  = มน + มยํ (ตามสูตรของกระบวนการสร้างรูปแบบตัทธิต)
แปลงสระที่สุดของ มน คือ อ เป็น โอ ด้วยสูตรนี้ (เอเตสโม โลเป) = มโน + มยํ
สำเร็จรูปเป็น มโนมยํ.

๒) ตโมนุโท ผู้กำจัดซึ่งความมืด มาจาก ตมํ = ซึ่งความมืด + นุโท = ผู้กำจัด
ลบ อํ วิภัตติ  = ตม + นุโท (ตามขั้นตอนของกระบวนการสร้างรูปแบบสมาส)
แปลงสระที่สุดของ ตม คือ  อ เป็น โอ ด้วยสูตนี้ (เอเตสโม โลเป) = ตโม + นุโท 
สำเร็จรูปเป็น ตโมนุโท.

ตัวอย่างอื่นๆ
มโนเสฏฺฐา (ธมฺมา) = มโน ใจ + เสฏฺฐา ประเสริฐสุด (ธรรมท.) มีใจประเสริฐสุด
อโยมยํ  อยสา ด้วยเหล็ก + มยํ (= ปกตํ) ทำแล้ว ทำแล้วจากเหล็ก (สำเร็จด้วยเหล็ก)
เตโชกสิณํ  = เตโช คือไฟ + กสิณํ กสิณ = กสิณ คือ ไฟ.
อโหรตฺตํ อโห วัน + รตฺตํ คืน = วันและคืน
ตโปธโน ตโป คือ ตบะ + ธนํ ทรัพย์ = ทรัพย์ คือ ตบะ
สิโรรุโห สิเร บนศีรษะ + รุโห อวัยวะที่งอกขึ้น = อวัยวะที่งอกขึ้นบนศีรษะ
รโชชลฺลํ รโช คือ ฝุ่น + ชลฺลํ สิ่งสกปรก = สิ่งสกปรกคือฝุ่น
รโหคโต รเห ในที่ลับ + คโต ผู้ไปแล้ว (อยู่) = ผู้ไปแล้วในที่ลับ.

*** หมายเหตุ  ***

เกี่ยวกับการสำเร็จรูปเป็น มโนมยํ ที่ไม่ได้แสดงวิธีการทำตัวโดยละเอียดในที่นี้ เพราะทำให้นักศึกษาหนักเกินไป จะขอกล่าวรายละเอียดในตอนที่เรียนเรื่องนาม สมาส และตัทธิตอีกครั้งหนึ่ง ในสูตรนี้ให้กำหนดแต่เพียงเท่านี้ว่า ให้ลง โอ อาคม ได้หลังจากมโนคณะศัพท์เป็นต้น ในการสำเร็จรูปของบทสมาสและตัทธิต.

 ข้อยกเว้น
ในบางอุทาหรณ์ ห้ามแปลงสระที่สุด เป็น โอ เช่น
มนมตฺเตน ด้วยใจเท่านั้น มนสา ใจ + มตฺเตน เท่านั้น
มนจฺฉฏฺฐานํ มีใจเป็นที่ ๖ (มโน ใจ + ฉฏฐานํ เป็นที ๖)
อยกปลฺลํ, กระเบื้องเหล็ก,หม้อเหล็ก อยสา ทำด้วยเหล็ก + กปลฺลํ กระเบื้อง,หม้อ
ตมวิโนทโน, ตมํ ซึ่งความมืด + วิโนทโน ผู้ขจัด
มนอายตนํ มนํ คือใจ อายตนํ อายตนะ = อายตนะคือใจ

ตัวอย่างเหล่านี้ ในพระบาฬี กล่าวคือ สถานที่มาของคำศัพท์เหล่านี้ ใช้โดยไม่แปลงสระที่สุดเป็น โอ ตามหลักการนี้ ดังนั้น อุทาหรณ์เหล่านี้ จึงเป็นวิธีการที่พ้นกฏเกณฑ์ เรียกว่า อสันตวิธี ไม่มีในสูตรนี้.

ท่านทั้งหลายโปรดทราบว่า วิธีการไวยากรณ์ ท่านเรียกว่า เป็นวิธีการโดยส่วนมาก จะมีการยกเว้นอยู่บ่อยๆ มีคำกล่าวว่า “ไวยากรณ์ เหมือนแก้มของนักเป่าปี ที่พองบ้าง ยุบบ้าง”

จบ พยัญชนสนธิ
จบ มโนคณะศัพท์.

ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช


วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๒๒. ทีฆะสระหน้า

#ปทรูปสิทธิสังเขป ๒๒

#วิธีการเชื่อมบท  แบบที่ ๒ "ทีฆะ" คือ การทำสระเสียงสั้นให้เป็นเสียงยาว
กรณีที่ ๒ ทีฆะ “สระหน้า”
๑๘. ปุพฺโพ จฯ
ในบางแห่ง มีการทีฆะสระหน้าก็ได้ เมื่อได้ลบสระหลังแล้ว

***

นอกจากทีฆะสระหลังแล้ว ยังสามารถทีฆะสระหน้าก็ได้ แต่ต้องลบสระหลังไปก่อนเช่นกัน

*****
ตัวอย่าง
ก. เชื่อม ๒ บทเข้าด้วยกัน
โลกสฺส อิติ เป็น โลกสฺสาติ
๑. "แยก" พยัญชนะ สฺ ออกจาก สระ อ  = โลกสฺสฺ อ อิติ
๒. "ลบ" สระหลัง ด้วยสูตรว่า วา ปโร อสรูปา = โลกสฺสฺ อ ติ
๓. "ทีฆะ" สระหน้า ด้วยสูตรนี้ =  โลกสฺสฺ อา ติ
๔. "รวม" เป็น = โลกสฺสาติ

ข. ตัดบทเพื่อหาวิธีการเข้าสนธิ
วิชฺชุว
๑.ตัดบทเป็น วิชฺชุ อิว
๒. "แยก" พยัญชนะ ชฺ ออกจาก อุ = วิชฺชฺ อุ อิว
๓."ลบ" สระหลัง = วิชฺชฺ อุ ว
๔. "ทีฆะ" สระหน้า = วิชฺชฺ อู ว
๕. "รวม" = วิชฺชูว

แบบฝึก
ก. จงเชื่อม ๒ บทเข้าด้วยกันตามหลักการสนธิแบบทีฆะสระหลัง

เทว อิติ,

วิ อติ (ปตนฺติ),  

สงฺฆาฏิ อปิ

ข. จงตัดบทเพื่อหาวิธีการเข้าสนธิตามหลักการดังกล่าว

สงฺฆาฏีปิ,

ชีวิตเหตูปิ,

กึสูธ ,


สาธูติ

๒๑ วิธีการเชื่อมบท แบบที่ ๒ "ทีฆะ" คือ การทำสระเสียงสั้นให้เป็นเสียงยาว

#ปทรูปสิทธิสังเขป ๒๑ 

#วิธีการเชื่อมบท  แบบที่ ๒  "ทีฆะ" คือ การทำสระเสียงสั้นให้เป็นเสียงยาว

วิธีการภายหลังจากการลบสระหน้าหรือสระหลังแล้วอาจ มี ๒ วิธีการเกิดขึ้น คือ
๑) ทีฆะ การทำเป็นเสียงยาว
แบ่งเป็น ๒ กรณี คือ
กรณที่ ๑ ถ้าลบสระหน้าด้วยสูตร สรา สเร โลปํ แล้ว สระหลัง เป็นทีฆสระ
กรณีที่ ๒ ถ้าลบสระหลังด้วยสูตร วา ปโร อสรูปา แล้ว สระหน้าเป็นทีฆสระ
๒) วิการ การกลายเสียงสระ กรณีนี้เกิดขึ้นเมื่อลบสระหน้าแล้ว ถ้าสระหลังเป็น อิ อี และ อุ อู จะกลายเป็น เอ และ โอ ตามควร
---

กรณีที่ ๑ "ทีฆะ" สระหลัง

๑๗. ทีฆํฯ
หลังจากลบสระหน้าแล้ว จะทีฆะสระหลัง เสียบ้างก็ได้

****

ตัวอย่างเช่น
ก. กรณีที่จะเชื่อมบท ๒ บทเข้าด้วยกัน เช่น
ตตฺร อยํ เชื่อมกันเป็น ตตฺรายํ
สทฺธา อิธ เชื่อมกันเป็น สทฺธีธ,
กมฺม อุปนิสฺสโย เชื่อมกันเป็น กมฺมูปนิสฺสโย

ข. กรณีพบรูปที่เชื่อมกันแบบนี้ เช่น
อิทานาหํ แสดงว่า มาจาก อิทานิ อหํ
ตถูปมํ แสดงว่า มาจาก ตถา อุปมํ
พุทฺธานุสฺติ แสดงว่า มาจาก พุทฺธ อนุสฺสติ

วิธีการเชื่อมบท
ก. เชื่อมสองบทเข้าด้วยกัน - ตตฺร อยํ
๑. "แยก" พยัญชนะ รฺ ออกจาก อ > ตตฺรฺ อ อยํ
๒. "ลบ" สระหน้า > ตตฺรฺ อยํ
๓. "ทีฆะ" สระหลัง คือ อ ที่ อยํ > ตตฺรฺ อายํ
๔. "รวม" เป็น ตตฺรายํ

ข. เมื่อพบรูปที่เชื่อมกันแล้ว - อิทานาหํ
๑. "ตัดบท" อิทานิ อหํ
๒. "แยก" พยัญชนะ นฺ ออกจาก อิ > อิทานฺ อิ อหํ
๓. "ลบ" สระหน้า > อิทานฺ อหํ
๔. "ทีฆะ" สระหลัง > อิทานฺ อาหํ
๕. "รวม" เป็น อิทานาหํ

แบบฝึก

ก. จงเชื่อมบทสองบทนี้เข้าด้วยกัน โดยทีฆะสระหลังเมื่อได้ลบสระหน้าแล้ว
ตตฺร อยํ,
พุทฺธ อนุสฺสติ,
ตทา อหํ,
กิกี อิว,

ข. จงตัดบทและแสดงวิธีการที่ท่านใช้ในรูปดังต่อไปนี้

อิทานาหํ,
สจายํ,
อปฺปสฺสุตายํ,               
อิตรีตเรน,
สทฺธีธ


*****

๒๐๓ มโนคณศัพท์ : แปลง อ ของ มน เป็น โอ เมื่ออยู่ท่ามกลางสมาสและตัทธิต

#ปทรูปสิทธิสังเขป๒๐๓
นามศัพท์ : ระบบการสร้างรูปคำนาม ในมโนคณศัพท์

ได้กล่าวถึงลักษณะของมโนคณะไปถึง ๒ ประการแล้ว โดยอาศัยสูตรที่ท่านแสดงกำกับไว้ กล่าวคือ มีการแปลง นา เป็น อา ส เป็น โอ และ สฺมิํ เป็น อิ และมีการลง สอาคม ทั้งสามวิภัตติ อาจกล่าวได้ว่า แปลง นา เป็น สา, ส เป็น โส และ สฺมิํ เป็น สิ เพื่อกำหนดได้ง่าย แต่ถ้ายึดหลักการที่ถูกต้อง ก็ต้องคำนึงกฏเกณฑ์ตามลำดับที่แสดงไว้
ในลักษณะที่ ๓ คือ การแปลง อ ของ มน เป็น โอ เมื่ออยู่ท่ามกลางสมาสและตัทธิต  ไม่ปรากฏวิธีการในนามกัณฑ์ แต่มีในพยัญชนสนธิ ซึ่งได้เคยแสดงไปแล้ว ท่านทั้งหลายอาจไม่ทันได้กำหนด ใคร่จะทบทวนอีกสักที
อ้างถึง #ปทรูปสิทธิสังเขป๗๙

๕) วิธีการเชื่อมสระในเพราะพยัญชนะ แบบ “อาคม”
แปลงสระท้ายศัพท์มี มน เป็นต้น เป็น โอ ในกรณีที่ มน เป็นสมาส กับ ศัพท์หลัง เป็นต้น

กรณีนี้เป็นพิเศษ เพราะเกี่ยวกับโอเหมือนกัน อาศัยการดำเนินเรื่องติดต่อกัน จึงจัดวิธีการนี้แม้เป็นวิธีการของนามศัพท์สมาสและตัทธิต (วิธีการที่เกี่ยวกับคำนาม คือ จัดลิงค์ และ ลงวิภัตติเป็นต้นและ สมาส คือ การนำคำนามสองคำขึ้นมาย่อเข้าด้วยกันได้ความหมายใหม่ขึ้นมา ตัทธิต การใช้กลุ่มอักษรที่เรียกว่า ปัจจัย ใช้แทนความหมายของคำนาม)

หลักการ : สูตรกำกับวิธีการ
๔๘. เอเตสโม โลเป.
 เมื่อลบวิภัตติแล้ว แปลงสระที่สุดแห่งศัพท์มโนคณะเป็นต้นเหล่านั้น เป็น โอ ได้บ้าง.

หลักเกณฑ์ : ขอบเขตของสูตรและอธิบาย 
เมื่อลบวิภัตติของมโนคณะศัพท์เป็นต้นแล้ว ให้แปลง สระที่สุดของศัพท์เหล่านั้น เป็นโอ.

คำว่า วิภัตติที่ลบออกแล้ว คือ วิภัตติที่ลบออกจากศัพท์หน้า คือ มโนคณะศัพท์ที่ตั้งเป็นสมาส หรือตัทธิตนั่นเอง.
ความเป็นจริงแล้ว วิธีอย่างนี้เป็นวิธีของสมาสและตัทธิตทีมีการลบวิภัตติ แต่ที่จัดไว้ในที่นี้เพราะมีสภาพเหมือนกับพยัญชนะสนธิ ในแง่ที่ว่า มีการอาเทศ สระเป็นโอ และมีพยัญชนะเป็นนิมิตนั่นเอง.

 หลักการใช้ :  อุทาหรณ์ของสูตร
๑) มน ใจ + มยํ ทำแล้ว = มโนมยํ ทำแล้วด้วยใจ (หรือจะมองว่า มโนมยํ มาจาก มน + มยํ)

ในตัวอย่างนี้ มโนมยํ แปลว่า ทำแล้วด้วยใจ.  ในที่นี้ คำว่า มย จัดเป็น ปัจจัยในตัทธิตใช้แทนคำศัพท์ว่า ปกต ที่แปลว่า ทำแล้ว, สำเร็จแล้ว.  เมื่อนำคำว่า มย มาประกอบกับ คำว่า มน ที่เป็นบทนาม (ซึ่งบทนามนี้ จะต้องประกอบด้วยวิภัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ในวิภัตติทั้ง ๗ เพื่อกำหนดหน้าที่ของคำนามในประโยค ความโดยพิสดารจักมาในนามกัณฑ์ ตอนนี้รับทราบแค่นี้ก่อนครับ). สำหรับตัวอย่างนี้ มน ประกอบด้วย นา ตติยาวิภัตติ ให้แปลว่า "ด้วย"  สำเร็จรูปคำตามกระบวนสร้างรูปคำของคำนามตามลำดับเป็น
"มนสามยํ"

มโนมยํ = มนสา ด้วยใจ + มยํ (= ปกตํ) ทำแล้ว = ทำแล้วด้วยใจ
ลบนา (แปลงเป็น สา) วิภัตติ  = มน + มยํ (ตามสูตรของกระบวนการสร้างรูปแบบตัทธิต)
แปลงสระที่สุดของ มน คือ อ เป็น โอ ด้วยสูตรนี้ (เอเตสโม โลเป) = มโน + มยํ
สำเร็จรูปเป็น มโนมยํ.

๒) ตโมนุโท ผู้กำจัดซึ่งความมืด มาจาก ตมํ = ซึ่งความมืด + นุโท = ผู้กำจัด
ลบ อํ วิภัตติ  = ตม + นุโท (ตามขั้นตอนของกระบวนการสร้างรูปแบบสมาส)
แปลงสระที่สุดของ ตม คือ  อ เป็น โอ ด้วยสูตนี้ (เอเตสโม โลเป) = ตโม + นุโท 
สำเร็จรูปเป็น ตโมนุโท.

ตัวอย่างอื่นๆ
มโนเสฏฺฐา (ธมฺมา) = มโน ใจ + เสฏฺฐา ประเสริฐสุด (ธรรมท.) มีใจประเสริฐสุด
อโยมยํ  อยสา ด้วยเหล็ก + มยํ (= ปกตํ) ทำแล้ว ทำแล้วจากเหล็ก (สำเร็จด้วยเหล็ก)
เตโชกสิณํ  = เตโช คือไฟ + กสิณํ กสิณ = กสิณ คือ ไฟ.
อโหรตฺตํ อโห วัน + รตฺตํ คืน = วันและคืน
ตโปธโน ตโป คือ ตบะ + ธนํ ทรัพย์ = ทรัพย์ คือ ตบะ
สิโรรุโห สิเร บนศีรษะ + รุโห อวัยวะที่งอกขึ้น = อวัยวะที่งอกขึ้นบนศีรษะ
รโชชลฺลํ รโช คือ ฝุ่น + ชลฺลํ สิ่งสกปรก = สิ่งสกปรกคือฝุ่น
รโหคโต รเห ในที่ลับ + คโต ผู้ไปแล้ว (อยู่) = ผู้ไปแล้วในที่ลับ.

*** หมายเหตุ  ***

เกี่ยวกับการสำเร็จรูปเป็น มโนมยํ ที่ไม่ได้แสดงวิธีการทำตัวโดยละเอียดในที่นี้ เพราะทำให้นักศึกษาหนักเกินไป จะขอกล่าวรายละเอียดในตอนที่เรียนเรื่องนาม สมาส และตัทธิตอีกครั้งหนึ่ง ในสูตรนี้ให้กำหนดแต่เพียงเท่านี้ว่า ให้ลง โอ อาคม ได้หลังจากมโนคณะศัพท์เป็นต้น ในการสำเร็จรูปของบทสมาสและตัทธิต.

 ข้อยกเว้น
ในบางอุทาหรณ์ ห้ามแปลงสระที่สุด เป็น โอ เช่น
มนมตฺเตน ด้วยใจเท่านั้น มนสา ใจ + มตฺเตน เท่านั้น
มนจฺฉฏฺฐานํ มีใจเป็นที่ ๖ (มโน ใจ + ฉฏฐานํ เป็นที ๖)
อยกปลฺลํ, กระเบื้องเหล็ก,หม้อเหล็ก อยสา ทำด้วยเหล็ก + กปลฺลํ กระเบื้อง,หม้อ
ตมวิโนทโน, ตมํ ซึ่งความมืด + วิโนทโน ผู้ขจัด
มนอายตนํ มนํ คือใจ อายตนํ อายตนะ = อายตนะคือใจ

ตัวอย่างเหล่านี้ ในพระบาฬี กล่าวคือ สถานที่มาของคำศัพท์เหล่านี้ ใช้โดยไม่แปลงสระที่สุดเป็น โอ ตามหลักการนี้ ดังนั้น อุทาหรณ์เหล่านี้ จึงเป็นวิธีการที่พ้นกฏเกณฑ์ เรียกว่า อสันตวิธี ไม่มีในสูตรนี้.

ท่านทั้งหลายโปรดทราบว่า วิธีการไวยากรณ์ ท่านเรียกว่า เป็นวิธีการโดยส่วนมาก จะมีการยกเว้นอยู่บ่อยๆ มีคำกล่าวว่า “ไวยากรณ์ เหมือนแก้มของนักเป่าปี ที่พองบ้าง ยุบบ้าง”

จบ พยัญชนสนธิ
จบ มโนคณะศัพท์.

ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช

๒๐๒ มโนคณศัพท์ : มนโส จตุตถีวิภัตติ เอกวจนะ

#ปทรูปสิทธิสังเขป๒๐๒
นามศัพท์ : ระบบการสร้างรูปคำนาม ในมโนคณศัพท์

เมื่อคราวที่แล้วได้กล่าวถึงการสำเร็จรูปของมนศัพท์ในตติยาวิภัตติและสัตตมีวิภัตติแล้ว ถึงคราวนี้จะได้กล่าวถึงรูปในจตุตถีวิภัตติ และทุติยาวิภัตติสืบไป

มนโส จตุตถีวิภัตติ เอกวจนะ คัมภีร์ปทรูปสิทธิแสดงการสำเร็จรูปด้วยวิธีการของสูตรนี้ คือ
หลักการ สูตรกำกับวิธีการ
          ๙๗.  สสฺส โจ.
          แปลง ส วิภัตติและวิภัตติอื่นท้ายศัพท์มโนคณะเป็นต้น เป็น โอ ได้บ้าง.

หลักเกณฑ์ ข้อกำหนดของสูตรและอธิบาย
สูตรนี้แสดงให้ทราบว่า เมื่อลง ส วิภัตติท้ายศัพท์มโนคณะแล้วให้แปลง อ เป็น โอ ได้บ้าง.  หลังจากนั้นให้ลง สฺ อาคม ด้วยสูตรว่า ส สเร วาคโม  (ลง สฺ อาคมท้ายศัพท์มโนคณะ ในเพราะสระหลังได้บ้าง) สำเร็จรูปเป็น มนโส.

มนโส ศัพท์เดิมเป็น มน อ การันต์ ปุงลิงค์ ลง ส จตุตถีวิภัติ เอกวจนะ
แนวทางการสำเร็จรูป
แสดงรูป
อ้างสูตร
ลง ส จตุตถีวิภัตติ ในอรรถแห่งสัมปทาน
มน + ส
สมฺปทาเน จตุตฺถี
หลังมโนคณะเป็นต้น แปลง ส เป็น โอ
มน + โอ
สสฺส  โจ
ในเพราะสระหลัง ลง สฺ อาคม
มน + สฺ + โอ
ส สเร วาคโม
นำพยัญชนะประกอบสระหลัง
มนโส
นเย ปรํ ยุตฺเต
สำเร็จรูปเป็น มนโส  แปลว่า แก่จิต ฯ

ส่วนรูปว่า  มโน ทุติยาวิภัตติ เอกวจนะ ในปทรูปสิทธิไม่มีสูตรสำเร็จรูปโดยตรง แต่กระนั้นก็สำเร็จได้ด้วย จ ศัพท์ ในสูตรว่า สสฺส โจ นั่นเอง. หมายความว่า นอกจากจะแปลง ส เป็น โอ แล้วยังสามารถแปลงวิภัตติอื่นเป็นโอ ซึ่งก็หมายถึง การแปลง อํ เป็น โอ นี้นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ในสัททนีติปกรณ์ สุตตมาลา สูตรที่ ๓๗๗   แสดงสูตรที่ให้สำเร็จรูปเป็น มโน ได้โดยตรง คือ
          อํวจนสฺโส
          แปลง อํ ทุติยาวิภัตติ  ท้ายมโนคณะศัพท์ เป็น โอ ได้บ้าง
อธิบาย สูตรนี้ บอกให้ทราบว่า สามารถแปลง อํ ทุติยาวิภัตติหลังจากมโนคณะศัพท์เป็น โอ ได้บ้าง. นักศึกษาจะสังเกตเห็นได้ว่า ท่านกล่าวเพียงว่า ท้ายมโนคณะศัพท์ มิได้กล่าวว่า ท้ายมโนคณะศัพท์เป็นต้น. เมื่อเป็นเช่นนี้ เท่ากับว่า ท่านห้ามการแปลง อํ เป็น โอ ถ้ามิได้เป็นมโนคณะศัพท์ เช่น พิลํ ไม่เป็น พิโล เป็นต้น.
          ดังนั้น เมื่อแปลง อํ เป็น โอ แล้วก็สำเร็จรูปเป็น มโน (ไม่มีการลง สฺ อาคม)

มโน ศัพท์เดิมเป็น มน อ การันต์ ปุงลิงค์ ลง อํ ทุติยาวิภัตติ เอกวจนะ
แนวทางการสำเร็จรูป
แสดงรูป
อ้างสูตร
ลง อํ ทุติยาวิภัตติ ในอรรถแห่งกรรม
มน + อํ
กมฺมตฺเถ ทุติยา
หลังมโนคณะศัพท์ แปลง อํ เป็น โอ
มน + โอ
จ ศัพท์ ในสูตรว่า สสฺส  โจ
หรือ อํ วจนสฺส โอ (ในสัททนีติปกรณ์)
แยก ลบ - รวม
มโน
ปุพฺพมโธ ฯ , สรโลโป ฯ, นเย ฯ
สำเร็จรูปเป็น มนโส  แปลว่า แก่จิต ฯ

          รูปที่เหลือมีนัยเดียวกับ ปุริส ศัพท์ อ การันต์ปุงลิงค์

คราวหน้าจะแสดงถึงการสำเร็จรูปในท่ามกลางสมาส

ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช