วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๒๒. ทีฆะสระหน้า

#ปทรูปสิทธิสังเขป ๒๒

#วิธีการเชื่อมบท  แบบที่ ๒ "ทีฆะ" คือ การทำสระเสียงสั้นให้เป็นเสียงยาว
กรณีที่ ๒ ทีฆะ “สระหน้า”
๑๘. ปุพฺโพ จฯ
ในบางแห่ง มีการทีฆะสระหน้าก็ได้ เมื่อได้ลบสระหลังแล้ว

***

นอกจากทีฆะสระหลังแล้ว ยังสามารถทีฆะสระหน้าก็ได้ แต่ต้องลบสระหลังไปก่อนเช่นกัน

*****
ตัวอย่าง
ก. เชื่อม ๒ บทเข้าด้วยกัน
โลกสฺส อิติ เป็น โลกสฺสาติ
๑. "แยก" พยัญชนะ สฺ ออกจาก สระ อ  = โลกสฺสฺ อ อิติ
๒. "ลบ" สระหลัง ด้วยสูตรว่า วา ปโร อสรูปา = โลกสฺสฺ อ ติ
๓. "ทีฆะ" สระหน้า ด้วยสูตรนี้ =  โลกสฺสฺ อา ติ
๔. "รวม" เป็น = โลกสฺสาติ

ข. ตัดบทเพื่อหาวิธีการเข้าสนธิ
วิชฺชุว
๑.ตัดบทเป็น วิชฺชุ อิว
๒. "แยก" พยัญชนะ ชฺ ออกจาก อุ = วิชฺชฺ อุ อิว
๓."ลบ" สระหลัง = วิชฺชฺ อุ ว
๔. "ทีฆะ" สระหน้า = วิชฺชฺ อู ว
๕. "รวม" = วิชฺชูว

แบบฝึก
ก. จงเชื่อม ๒ บทเข้าด้วยกันตามหลักการสนธิแบบทีฆะสระหลัง

เทว อิติ,

วิ อติ (ปตนฺติ),  

สงฺฆาฏิ อปิ

ข. จงตัดบทเพื่อหาวิธีการเข้าสนธิตามหลักการดังกล่าว

สงฺฆาฏีปิ,

ชีวิตเหตูปิ,

กึสูธ ,


สาธูติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น