วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ปทรูปสิทธิสังเขป ๒๐๔ มโนคณาทิคณะ

#ปทรูปสิทธิสังเขป๒๐๔
นามศัพท์ : ระบบการสร้างรูปคำนาม ในมโนคณาทิคณศัพท์
----
ได้กล่าวถึง มโนคณะ ไปแล้ว โดยเน้นที่ลักษณะ ๒ ประการใน ๓ วิภัตติ และอีก ๑ ประการ ในเวลาที่เป็นบทสมาสและตัทธิต. ถึงคราวนี้ เมื่อนำลักษณะ ๓ ประการไปใช้กับศัพท์อื่น มโนคณะ จึงกลายเป็นกลุ่มศัพท์ที่มีลักษณะเหมือนกับศัพท์อื่น โดยลักษณะ ๓ ประการนั้น. อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มศัพท์อื่นที่ีเหมือนกับมโนคณะ ก็ใช่ว่าจะมีลักษณะครบ คือ บางกลุ่มมีเป็นบางข้อ ไม่มีเป็นบางข้อ.

แนวทางสังเกตมีดังนี้.
ท่านทั้งหลาย หากสังเกตข้อความในตัวสูตร จะพบว่า สูตรว่า มโนคณาทิโต สฺมิํนานมิอา แปลง สฺมึ และ นา ท้ายศัพท์มโนคณะศัพท์เป็นต้น เป็น อิ และ อา ได้บ้าง  ท่านได้กล่าวถึง มโนคณาทิคณะไว้ ด้วยคำว่า มโนคณาทิโต. ด้วยคำนี้แหละ เป็นอันแสดงศัพท์ดังจะกล่าวต่อไปนี้ว่าเป็น มโนคณาทิคณะ
มโนคณาทิคณะ มาจาก มโนคณ + อาทิ + คณะ แปลว่า กลุ่มศัพท์ที่มีมโนคณะเป็นเบื้องต้น หรืออีกนัยหนึ่ง กลุ่มศัพท์ที่มีลักษณะเหมือนกับมโนคณะ. หมายความว่า นอกจากจะมีมโนคณะ ๑๖ ศัพท์ดังกล่าวมาแล้ว ยังมีศัพท์ทีเหลืออีก ๑๒ ศัพท์ที่คล้ายกับมโนคณะโดยลักษณะบางประการ. คือ 
พิล  ช่อง, พล  กำลัง, ทม การฝึก, วาห เกวียน,  ชรา ความแก่, ปท บท, มุข  หน้า หรือปาก, ชร โรค, อาป น้ำ, สรท  ปี, ฤดูอับลม, วาย ลม, รช ธุลี.
 ต่อจากนี้จะเรียก ๑๒ ศัพท์นี้ ว่า “มโนคณาทิคณะ