วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ปทรูปสิทธิสังเขป ๘๑

#ปทรูปสิทธิสังเขป ๘๑
วิธีการเชื่อมบทโดยอาศัยนิคคหิตเป็นเหตุ “นิคคหิตสนธิ” (๑)

นิคคหิตสนธิ
          นิคคหิตสนธิ คือ การเชื่อมบทที่มีทั้งสระ พยัญชนะและนิคคหิตเป็นนิมิต โดยการลบ อาเทส อาคม นิคคหิตนั้น กล่าวอย่างง่าย ๆ คือ เป็นการต่อนิคคหิตกับสระหรือพยัญชนะ. ข้อนี้สมกับที่ในปทรูปสิทธิกล่าวไว้ว่า

          นิคฺคหีตสฺส สนฺธิ นิคฺคหีตสนฺธิ 
          การสนธิหรือการเชื่อมแห่งนิคคหิต ชื่อว่า นิคคหิตสนธิ.

          นิคคหิตนี้ มีวิธีการโดยทำนองเดียวกันกับสรสนธิและพยัญชนสนธิ นั่นเอง แต่ก็มีข้อที่ต่างจากสระสนธิและพยัญชนะสนธิอยู่บ้าง นั่นก็คือ ในสระหรือพยัญชนะสนธิ มีแต่เพียงสระหรือพยัญชนะเท่านั้นเป็นนิมิต แล้วทำการต่อเสียงสระกับพยัญชนะหรือสระกับสระ. ส่วนในนิคคหิตสนธินี้ มีทั้งสระ พยัญชนะและนิคคหิตเป็นนิมิต รวมไปถึงการเชื่อมต่อระหว่างนิคคหิตท้ายศัพท์หน้ากับสระหรือพยัญชนะต้นของศัพท์หลัง ด้วยเหตุนี้ ในสัททนีติ ท่านจึงเรียกนิคคหิตสนธิว่า โวมิสสกสนธิ เพราะเป็นสนธิผสมกันทั้ง ๓ ,  หรือ สาธารณสนธิ สนธิอันรวมวิธีไว้หลายอย่าง เช่น การแปลง การลบ การสลับ ซึ่งพยัญชนะ สระ และนิคคหิต. ข้อนี้สมดังข้อความที่มาสัททนีติปกรณ์ว่า

          บทที่ถูกเชื่อมผสมกันทั้งที่เกี่ยวกับสระและพยัญชนะเป็นต้น ชื่อว่า โวมิสสสนธิ.  จริงอย่างนั้น การเชื่อมต่อที่สำเร็จด้วยอำนาจการแปลงและลบสระ, พยัญชนะและนิคคหิต ชื่อว่า โวมิสสสนธิ,  โวมิสสสนธินั่นแล เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สาธารณสนธิ เพราะมีการรวมวิธีไว้หลายอย่าง เช่น การแปลง การลบ การสลับ ซึ่งสระ พยัญชนะและนิคคหิต.

          เช่นเดียวกันนี้ โวมิสสสนธินั่นแล เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วุตตสนธิ เพราะถูกให้สำเร็จด้วยวิธีการลบและการลงอาคมเป็นต้นเพื่อรักษาฉันท์, รักษาคาถาในร้อยกรอง และเพื่อให้ออกเสียงได้ง่ายในจุณณิยบท (ร้อยแก้ว).

          พึงทราบว่า แม้ท่านจะแสดงชื่อสนธิเหล่านั้นไว้ ๓ ชื่อ ก็ตาม แต่สนธิเหล่านั้น ก็ถูกจัดเข้าอยู่ในสรสนธิและพยัญชนสนธินั่นเอง. (สัททนีติ สุตตมาลา แปล น. 113).

          แม้ในแบบเรียนบาลีไวยากรณ์ท่านก็แสดงไว้โดยนัยเดียวกับรูปสิทธิปกรณ์นั้นว่า การต่อนิคคหิต ชื่อว่า นิคคหิตสนธิ.

********************
˜

ปทรูปสิทธิสังเขป

๕๑. ส เย จ.
นิคคหิต กับ ยฺ ย่อมถึงความเป็น ญฺ ได้ ในเพราะ ยฺ ได้บ้างตามอุทาหรณ์.
------------------

หลักเกณฑ์ : อธิบายและข้อกำหนดของสูตรนี้  
-  ถ้าบทหน้าอันมีนิคคหิตเป็นเสียงท้ายนั้น อักษรต้นของบทหลังเป็น ยฺ อักษร แปลงนิคคหิตเป็น ญฺ
- การแปลงในที่นี้ หมายถึง ทั้ง นิคคหิต และ ยฺ จะกลายเป็น ญฺ ไปเลย
- รูปสำเร็จที่มาจากสูตรนี้ จะไม่มีนิคคหิต และ ยฺ อยู่เลย เช่น สํ + โยโค เป็น สญฺโญโค เป็นต้น.
- หลังจากการอาเทส เป็น ญฺ แล้ว ให้ซ้อน ญฺ อักษรอีกตัวหนึ่งขึ้นมาด้วยสูตรว่า ปร เทฺวภาโว ฐาเน

***  ๒ ข้อนี้ สำคัญมาก ***
- ต้องเป็น นิคคหิตที่อยู่ท้ายบทว่า สํ อุปสัค
- ถ้าเป็นนิคคหิตที่ไม่ใช่ สํ อุปสัค  บทหลังต้องเป็น ย สัพพนาม เท่านั้น 
ถ้าพ้นจากกฎเกณฑ์ ๒ ข้อนี้แล้ว ไม่สามารถแปลงนิคคหิต เป็น ญฺ ได้เลย.

หมายเหตุ
ก. อุปสัค หมายถึง บทที่ลงข้างหน้าคำนามและกิริยาเพื่อทำให้คำนามและกิริยานั้นมีความหมายต่างไปจากความหมายเดิมได้ เป็นต้น รายละเอียดอยู่ในเรื่องอุปสัคและนิบาต ซึ่งจะได้เรียนกันเมื่อเรียนเรื่องคำนามจบแล้ว)
ข. ย ที่เป็น สัพพนาม ได้แก่ คำว่า โย  เย  ยํ  เยน  ยสฺส  เยสํ  เยสานํ ยสฺมา เยหิ ยสฺมึ เยสุ เป็นต้น ซึ่งเป็นคำที่ใช้แทนคำนาม รายละเอียดเราจะได้ศึกษาต่อไปในเรื่องของคำสัพพนาม ต่อจากสนธินี้)

            

‎ปทรูปสิทธิสังเขป‬ ๖

ปทรูปสิทธิสังเขป ๖
***
๕. อญฺเญ ทีฆาฯ

สระที่เหลือนอกจากรัสสะที่กล่าวมาในสูตรที่ ๔ ชื่อว่า ทีฆะ

----
สระอีก ๕ ตัวที่เหลือ ออกเสียงจบช้ากว่า ใช้เวลาเท่ากับ ๒ มาตรา หรือประมาณ กระพริบตา ๒ ครั้ง จัดเป็นทีฆะ ได้แก่ อา อี อู เอ โอ.
***

‪#‎ปทรูปสิทธิสังเขป‬ ๕

ปทรูปสิทธิสังเขป
***
๔. ลหุมตฺตา ตโย รสฺสาฯ
สระ ๓ ตัวที่ออกเสียงจบเร็ว ชื่อว่า รัสสะ.
----
สระ ๘ ตัวนั้น แบ่งออกตามระยะเวลาออกเสียงได้ ๒ ประเภท คือ รัสสะ และ ทีฆะ, โดยสระที่ออกเสียงจบเร็ว ใช้เวลา ๑ มาตรา หรือเทียบเท่ากับเวลาชั่วกระพริบตาหนึ่ง จัดเป็น รัสสะ มีอยู่ ๓ ตัว คือ อ อิ และ อุ.
***