วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ปทรูปสิทธิสังเขป

๕๑. ส เย จ.
นิคคหิต กับ ยฺ ย่อมถึงความเป็น ญฺ ได้ ในเพราะ ยฺ ได้บ้างตามอุทาหรณ์.
------------------

หลักเกณฑ์ : อธิบายและข้อกำหนดของสูตรนี้  
-  ถ้าบทหน้าอันมีนิคคหิตเป็นเสียงท้ายนั้น อักษรต้นของบทหลังเป็น ยฺ อักษร แปลงนิคคหิตเป็น ญฺ
- การแปลงในที่นี้ หมายถึง ทั้ง นิคคหิต และ ยฺ จะกลายเป็น ญฺ ไปเลย
- รูปสำเร็จที่มาจากสูตรนี้ จะไม่มีนิคคหิต และ ยฺ อยู่เลย เช่น สํ + โยโค เป็น สญฺโญโค เป็นต้น.
- หลังจากการอาเทส เป็น ญฺ แล้ว ให้ซ้อน ญฺ อักษรอีกตัวหนึ่งขึ้นมาด้วยสูตรว่า ปร เทฺวภาโว ฐาเน

***  ๒ ข้อนี้ สำคัญมาก ***
- ต้องเป็น นิคคหิตที่อยู่ท้ายบทว่า สํ อุปสัค
- ถ้าเป็นนิคคหิตที่ไม่ใช่ สํ อุปสัค  บทหลังต้องเป็น ย สัพพนาม เท่านั้น 
ถ้าพ้นจากกฎเกณฑ์ ๒ ข้อนี้แล้ว ไม่สามารถแปลงนิคคหิต เป็น ญฺ ได้เลย.

หมายเหตุ
ก. อุปสัค หมายถึง บทที่ลงข้างหน้าคำนามและกิริยาเพื่อทำให้คำนามและกิริยานั้นมีความหมายต่างไปจากความหมายเดิมได้ เป็นต้น รายละเอียดอยู่ในเรื่องอุปสัคและนิบาต ซึ่งจะได้เรียนกันเมื่อเรียนเรื่องคำนามจบแล้ว)
ข. ย ที่เป็น สัพพนาม ได้แก่ คำว่า โย  เย  ยํ  เยน  ยสฺส  เยสํ  เยสานํ ยสฺมา เยหิ ยสฺมึ เยสุ เป็นต้น ซึ่งเป็นคำที่ใช้แทนคำนาม รายละเอียดเราจะได้ศึกษาต่อไปในเรื่องของคำสัพพนาม ต่อจากสนธินี้)

            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น