วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ปทรูปสิทธิสังเขป ๒๐๔ มโนคณาทิคณะ

#ปทรูปสิทธิสังเขป๒๐๔
นามศัพท์ : ระบบการสร้างรูปคำนาม ในมโนคณาทิคณศัพท์
----
ได้กล่าวถึง มโนคณะ ไปแล้ว โดยเน้นที่ลักษณะ ๒ ประการใน ๓ วิภัตติ และอีก ๑ ประการ ในเวลาที่เป็นบทสมาสและตัทธิต. ถึงคราวนี้ เมื่อนำลักษณะ ๓ ประการไปใช้กับศัพท์อื่น มโนคณะ จึงกลายเป็นกลุ่มศัพท์ที่มีลักษณะเหมือนกับศัพท์อื่น โดยลักษณะ ๓ ประการนั้น. อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มศัพท์อื่นที่ีเหมือนกับมโนคณะ ก็ใช่ว่าจะมีลักษณะครบ คือ บางกลุ่มมีเป็นบางข้อ ไม่มีเป็นบางข้อ.

แนวทางสังเกตมีดังนี้.
ท่านทั้งหลาย หากสังเกตข้อความในตัวสูตร จะพบว่า สูตรว่า มโนคณาทิโต สฺมิํนานมิอา แปลง สฺมึ และ นา ท้ายศัพท์มโนคณะศัพท์เป็นต้น เป็น อิ และ อา ได้บ้าง  ท่านได้กล่าวถึง มโนคณาทิคณะไว้ ด้วยคำว่า มโนคณาทิโต. ด้วยคำนี้แหละ เป็นอันแสดงศัพท์ดังจะกล่าวต่อไปนี้ว่าเป็น มโนคณาทิคณะ
มโนคณาทิคณะ มาจาก มโนคณ + อาทิ + คณะ แปลว่า กลุ่มศัพท์ที่มีมโนคณะเป็นเบื้องต้น หรืออีกนัยหนึ่ง กลุ่มศัพท์ที่มีลักษณะเหมือนกับมโนคณะ. หมายความว่า นอกจากจะมีมโนคณะ ๑๖ ศัพท์ดังกล่าวมาแล้ว ยังมีศัพท์ทีเหลืออีก ๑๒ ศัพท์ที่คล้ายกับมโนคณะโดยลักษณะบางประการ. คือ 
พิล  ช่อง, พล  กำลัง, ทม การฝึก, วาห เกวียน,  ชรา ความแก่, ปท บท, มุข  หน้า หรือปาก, ชร โรค, อาป น้ำ, สรท  ปี, ฤดูอับลม, วาย ลม, รช ธุลี.
 ต่อจากนี้จะเรียก ๑๒ ศัพท์นี้ ว่า “มโนคณาทิคณะ 



๒. มโนคณาทิคณะ
            ยังมีกลุ่มศัพท์อีกกลุ่มหนึ่ง ที่มีลักษณะของมโนคณะศัพท์บางประการ คือ ไม่ครบทั้ง ๓ ประการ จะมีก็เพียงลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น คือ
          ๑. บางศัพท์ก็มีลักษณะข้อที่ ๑ คือ นา ส สฺมึ วิภัตติ มีการแปลงและลงสอาคมเป็น สา โส สิ ได้. แต่ก็ไม่มีลักษณะที่ ๒ คือ ไม่มีการแปลง อํ เป็น โอ และลักษณะที่ ๓ คือ ไม่มีการแปลงสระท้ายศัพท์เป็น โอ กลางบทสมาสและตัทธิต. ศัพท์กลุ่มนี้ท่านประมวลไว้ว่า มี ๘ ศัพท์   คือ

พิล
ช่อง
พล
กำลัง
ทม
การฝึก
วาห
เกวียน
ชรา
ความแก่
ปท
บท
มุข
หน้า,ปาก
ชร
โรค

  

          ๒. บางศัพท์ก็มีลักษณะข้อที่ ๒ และ ที่ ๓ ของมโนคณะ แต่ไม่มีลักษณะที่ ๑ ได้แก่

อาป
น้ำ
สรท
ปี, ฤดูอับลม
วาย
ลม
รช
ธุลี



*******************


แม้คัมภีร์ปทรูปสิทธิไม่ได้แสดงปทมาลาของมโนคณาทิคณะไว้ แต่แสดงสูตรไว้โดยรวมกัน ดังนั้น จึงขอแสดงปทมลาของศัพท์เหล่านี้ไว้ เพื่อเพิ่มพูนสุตะให้ท่านทั้งหลาย พึงทราบการสำเร็จรูปโดยนัยเดียวกับมโนคณะนั้น และในรูปที่ไม่มีลักษณะของมโนคณะ ก็แสดงว่า เป็นข้อยกเว้นของศัพท์นั้น

พิล สทฺทปทมาลา
แสดงกลุ่มคำที่ประกอบวิภัตติของ พิล ศัพท์
วิภัตติ
เอกวจนะ
พหุวจนะ
ปฐมา
พิล
พิลา
อาลปน
โภ พิล
ภวนฺโต พิลา
ทุติยา
พิลํ
พิเล
ตติยา
พิเลน พิลสา
พิเลหิ พิเลภิ
จตุตถี
พิลโส พิลสฺส
พิลานํ
ปญฺจมี
พิลสฺมา พิลมฺหา
พิเลหิ พิเลภิ
ฉฏฐี
พิลโส พิลสฺส
พิลานํ
สตฺตมี
พิลสิ พิเล พิลสฺมึ พิลมฺหิ
พิเลสุ

อาป สทฺทปทมาลา
แสดงกลุ่มคำที่ประกอบวิภัตติของ อาป ศัพท์

วิภัตติ
เอกวจนะ
พหุวจนะ
ปฐมา
อาโป
อาปา
อาลปน
โภ อาป
ภวนฺโต อาปา
ทุติยา
อาปํ
อาโป
ตติยา
อาเปน
อาเปหิ อาเปภิ
จตุตถี
อาปสฺส
อาปานํ
ปญฺจมี
อาปสฺมา อาปมฺหา
อาเปหิ อาเปภิ
ฉฏฐี
อาปสฺส
อาปานํ
สตฺตมี
อาเป อาปสฺมึ อาปมฺหิ
อาเปสุ

          ตัวอย่างการแปลง อ ท้ายศัพท์เป็น โอ ของกลุ่มนี้ เช่น อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ), วาโยมยํ (เกิดแต่ลม), สรโทสตํ (อายุยืน 100 ปี) เป็นต้น. สำหรับรูปที่แปลงเป็น โอ แห่ง อํ ทุติยาวิภัตติ นั้นไม่มีใช้ เช่น

วายํ วายโต สญฺชานาติ รู้วาโยธาตุ ว่าเป็น วาโยธาตุ.
สรทํ  ปตฺเถติ ปรารถนาฤดูสารทะ.

ความเป็นจริงแล้ว มโนคณาทิคณะ ที่มีการแปลง อํ เป็น โอ ไม่มี ข้อนี้มีหลักฐานที่แสดงไว้ในสัททนีติว่า กลุ่มศัพท์ของมโนคณาทิ มีลักษณะดังนี้คือ มีการแปลงเป็น โอ ในท่ามกลางสมาสและตัทธิต, ไม่มีการแปลงนา, ส, สฺมึ วิภัตติเป็น สา, โส, สิ และไม่มีการแปลงทุติยาวิภัตติเป็น โอ เมื่อทำหน้าที่เป็นกรรมของกิริยา (สัททนีติ ปทมาลา แปล หน้า 394) แต่ที่กล่าวไว้เช่นนี้ เนื่องจากว่า ในหนังสือหลายเล่มเช่น ปทรูปสิทธิมัญชรี หนังสือไวยากรณ์บาลี (รศ. สุภาพรรณ ณ บางช้าง) เป็นต้นแสดงไว้.

ขออนุโมทนา


สมภพ สงวนพานิช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น