วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๒๑ วิธีการเชื่อมบท แบบที่ ๒ "ทีฆะ" คือ การทำสระเสียงสั้นให้เป็นเสียงยาว

#ปทรูปสิทธิสังเขป ๒๑ 

#วิธีการเชื่อมบท  แบบที่ ๒  "ทีฆะ" คือ การทำสระเสียงสั้นให้เป็นเสียงยาว

วิธีการภายหลังจากการลบสระหน้าหรือสระหลังแล้วอาจ มี ๒ วิธีการเกิดขึ้น คือ
๑) ทีฆะ การทำเป็นเสียงยาว
แบ่งเป็น ๒ กรณี คือ
กรณที่ ๑ ถ้าลบสระหน้าด้วยสูตร สรา สเร โลปํ แล้ว สระหลัง เป็นทีฆสระ
กรณีที่ ๒ ถ้าลบสระหลังด้วยสูตร วา ปโร อสรูปา แล้ว สระหน้าเป็นทีฆสระ
๒) วิการ การกลายเสียงสระ กรณีนี้เกิดขึ้นเมื่อลบสระหน้าแล้ว ถ้าสระหลังเป็น อิ อี และ อุ อู จะกลายเป็น เอ และ โอ ตามควร
---

กรณีที่ ๑ "ทีฆะ" สระหลัง

๑๗. ทีฆํฯ
หลังจากลบสระหน้าแล้ว จะทีฆะสระหลัง เสียบ้างก็ได้

****

ตัวอย่างเช่น
ก. กรณีที่จะเชื่อมบท ๒ บทเข้าด้วยกัน เช่น
ตตฺร อยํ เชื่อมกันเป็น ตตฺรายํ
สทฺธา อิธ เชื่อมกันเป็น สทฺธีธ,
กมฺม อุปนิสฺสโย เชื่อมกันเป็น กมฺมูปนิสฺสโย

ข. กรณีพบรูปที่เชื่อมกันแบบนี้ เช่น
อิทานาหํ แสดงว่า มาจาก อิทานิ อหํ
ตถูปมํ แสดงว่า มาจาก ตถา อุปมํ
พุทฺธานุสฺติ แสดงว่า มาจาก พุทฺธ อนุสฺสติ

วิธีการเชื่อมบท
ก. เชื่อมสองบทเข้าด้วยกัน - ตตฺร อยํ
๑. "แยก" พยัญชนะ รฺ ออกจาก อ > ตตฺรฺ อ อยํ
๒. "ลบ" สระหน้า > ตตฺรฺ อยํ
๓. "ทีฆะ" สระหลัง คือ อ ที่ อยํ > ตตฺรฺ อายํ
๔. "รวม" เป็น ตตฺรายํ

ข. เมื่อพบรูปที่เชื่อมกันแล้ว - อิทานาหํ
๑. "ตัดบท" อิทานิ อหํ
๒. "แยก" พยัญชนะ นฺ ออกจาก อิ > อิทานฺ อิ อหํ
๓. "ลบ" สระหน้า > อิทานฺ อหํ
๔. "ทีฆะ" สระหลัง > อิทานฺ อาหํ
๕. "รวม" เป็น อิทานาหํ

แบบฝึก

ก. จงเชื่อมบทสองบทนี้เข้าด้วยกัน โดยทีฆะสระหลังเมื่อได้ลบสระหน้าแล้ว
ตตฺร อยํ,
พุทฺธ อนุสฺสติ,
ตทา อหํ,
กิกี อิว,

ข. จงตัดบทและแสดงวิธีการที่ท่านใช้ในรูปดังต่อไปนี้

อิทานาหํ,
สจายํ,
อปฺปสฺสุตายํ,               
อิตรีตเรน,
สทฺธีธ


*****

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น