วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๒๐๒ มโนคณศัพท์ : มนโส จตุตถีวิภัตติ เอกวจนะ

#ปทรูปสิทธิสังเขป๒๐๒
นามศัพท์ : ระบบการสร้างรูปคำนาม ในมโนคณศัพท์

เมื่อคราวที่แล้วได้กล่าวถึงการสำเร็จรูปของมนศัพท์ในตติยาวิภัตติและสัตตมีวิภัตติแล้ว ถึงคราวนี้จะได้กล่าวถึงรูปในจตุตถีวิภัตติ และทุติยาวิภัตติสืบไป

มนโส จตุตถีวิภัตติ เอกวจนะ คัมภีร์ปทรูปสิทธิแสดงการสำเร็จรูปด้วยวิธีการของสูตรนี้ คือ
หลักการ สูตรกำกับวิธีการ
          ๙๗.  สสฺส โจ.
          แปลง ส วิภัตติและวิภัตติอื่นท้ายศัพท์มโนคณะเป็นต้น เป็น โอ ได้บ้าง.

หลักเกณฑ์ ข้อกำหนดของสูตรและอธิบาย
สูตรนี้แสดงให้ทราบว่า เมื่อลง ส วิภัตติท้ายศัพท์มโนคณะแล้วให้แปลง อ เป็น โอ ได้บ้าง.  หลังจากนั้นให้ลง สฺ อาคม ด้วยสูตรว่า ส สเร วาคโม  (ลง สฺ อาคมท้ายศัพท์มโนคณะ ในเพราะสระหลังได้บ้าง) สำเร็จรูปเป็น มนโส.

มนโส ศัพท์เดิมเป็น มน อ การันต์ ปุงลิงค์ ลง ส จตุตถีวิภัติ เอกวจนะ
แนวทางการสำเร็จรูป
แสดงรูป
อ้างสูตร
ลง ส จตุตถีวิภัตติ ในอรรถแห่งสัมปทาน
มน + ส
สมฺปทาเน จตุตฺถี
หลังมโนคณะเป็นต้น แปลง ส เป็น โอ
มน + โอ
สสฺส  โจ
ในเพราะสระหลัง ลง สฺ อาคม
มน + สฺ + โอ
ส สเร วาคโม
นำพยัญชนะประกอบสระหลัง
มนโส
นเย ปรํ ยุตฺเต
สำเร็จรูปเป็น มนโส  แปลว่า แก่จิต ฯ

ส่วนรูปว่า  มโน ทุติยาวิภัตติ เอกวจนะ ในปทรูปสิทธิไม่มีสูตรสำเร็จรูปโดยตรง แต่กระนั้นก็สำเร็จได้ด้วย จ ศัพท์ ในสูตรว่า สสฺส โจ นั่นเอง. หมายความว่า นอกจากจะแปลง ส เป็น โอ แล้วยังสามารถแปลงวิภัตติอื่นเป็นโอ ซึ่งก็หมายถึง การแปลง อํ เป็น โอ นี้นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ในสัททนีติปกรณ์ สุตตมาลา สูตรที่ ๓๗๗   แสดงสูตรที่ให้สำเร็จรูปเป็น มโน ได้โดยตรง คือ
          อํวจนสฺโส
          แปลง อํ ทุติยาวิภัตติ  ท้ายมโนคณะศัพท์ เป็น โอ ได้บ้าง
อธิบาย สูตรนี้ บอกให้ทราบว่า สามารถแปลง อํ ทุติยาวิภัตติหลังจากมโนคณะศัพท์เป็น โอ ได้บ้าง. นักศึกษาจะสังเกตเห็นได้ว่า ท่านกล่าวเพียงว่า ท้ายมโนคณะศัพท์ มิได้กล่าวว่า ท้ายมโนคณะศัพท์เป็นต้น. เมื่อเป็นเช่นนี้ เท่ากับว่า ท่านห้ามการแปลง อํ เป็น โอ ถ้ามิได้เป็นมโนคณะศัพท์ เช่น พิลํ ไม่เป็น พิโล เป็นต้น.
          ดังนั้น เมื่อแปลง อํ เป็น โอ แล้วก็สำเร็จรูปเป็น มโน (ไม่มีการลง สฺ อาคม)

มโน ศัพท์เดิมเป็น มน อ การันต์ ปุงลิงค์ ลง อํ ทุติยาวิภัตติ เอกวจนะ
แนวทางการสำเร็จรูป
แสดงรูป
อ้างสูตร
ลง อํ ทุติยาวิภัตติ ในอรรถแห่งกรรม
มน + อํ
กมฺมตฺเถ ทุติยา
หลังมโนคณะศัพท์ แปลง อํ เป็น โอ
มน + โอ
จ ศัพท์ ในสูตรว่า สสฺส  โจ
หรือ อํ วจนสฺส โอ (ในสัททนีติปกรณ์)
แยก ลบ - รวม
มโน
ปุพฺพมโธ ฯ , สรโลโป ฯ, นเย ฯ
สำเร็จรูปเป็น มนโส  แปลว่า แก่จิต ฯ

          รูปที่เหลือมีนัยเดียวกับ ปุริส ศัพท์ อ การันต์ปุงลิงค์

คราวหน้าจะแสดงถึงการสำเร็จรูปในท่ามกลางสมาส

ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น